นวัตกรรมการเปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืด

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ได้ทำการวิจัยและสร้างนวัตกรรมบริหารจัดการน้ำเค็มเป็นน้ำจืด จนสามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้

ที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ดร.วศิน ยุวนะเตมีย์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีทางทะเล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์  ได้บรรยายเกี่ยวกับงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการน้ำเค็มเป็นน้ำจืด ซึ่งการบริหารจัดการน้ำเค็มเป็นน้ำจืดดังกล่าว เป็นการต่อยอด และบูรณาการให้สอดคล้องกับพื้นที่จังหวัดจันทบุรี

โดยผู้ที่มาศึกษาดูงานจะได้ชมการผลิตน้ำเค็มเป็นน้ำจืด และสามารถดื่มได้ ดร.วศิน ยุวนะเตมีย์ ได้เปิดเผยว่า สำหรับการดำเนินการวิจัยและสร้างนวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการน้ำเค็มเป็นน้ำจืด ของคณะเทคโนโลยีทางทะเล มีแนวคิดมาจากการที่จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดที่อยู่ติดกับชายทะเล และเป็นพื้นที่ทางการการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งน้ำเพื่อการเกษตรมักไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้ เกษตรกรบางรายต้องใช้เงินลงทุนที่มากขึ้นกับการซื้อน้ำมารดสวนผลไม้

ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัยและทดลองอยู่แล้ว จึงทำการวิจัยและทดลองนำน้ำเค็มมาผ่านกระบวนการในขั้นตอนต่างๆ จนสามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ อาทิ การนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการดึงน้ำเค็มและน้ำจืดออกจากกันจะสามารถนำไปใช้ในการรดน้ำต้นไม้ ล้างห้องน้ำ รวมถึงนำไปใช้ในภาคการเกษตรได้ และเมื่อผ่านกระบวนการในขั้นที่ 2 จะกลายเป็นน้ำที่สามารถนำมาดื่มได้ ซึ่งคุณภาพน้ำที่ออกมาเทียบเท่ากับน้ำดื่มยี่ห้อต่างๆตามท้องตลาดอีกด้วย

CR. Workpoint News

ม.บูรพาฯจันทบุรี เจ๋งคิดทำเครื่องน้ำเค็มเป็นน้ำจืดสำเร็จ.มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ได้ทำการวิจัยและสร้างนวัตกรรมบริหารจัดการน้ำเค็มเป็นน้ำจืด จนสามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้.ที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ดร.วศิน ยุวนะเตมีย์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีทางทะเล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ได้บรรยายเกี่ยวกับงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการน้ำเค็มเป็นน้ำจืด ซึ่งการบริหารจัดการน้ำเค็มเป็นน้ำจืดดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยบอกว่าเป็นการต่อยอด และบูรณาการให้สอดคล้องกับพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยผู้ที่มาศึกษาดูงานจะได้ชมการผลิตน้ำเค็มเป็นน้ำจืด และสามารถดื่มได้ ดร.วศิน ยุวนะเตมีย์ ได้เปิดเผยว่า สำหรับการดำเนินการวิจัยและสร้างนวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการน้ำเค็มเป็นน้ำจืด ของคณะเทคโนโลยีทางทะเล มีแนวคิดมาจากการที่จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดที่อยู่ติดกับชายทะเล และเป็นพื้นที่ทางการการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งน้ำเพื่อการเกษตรมักไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้ เกษตรกรบางรายต้องใช้เงินลงทุนที่มากขึ้นกับการซื้อน้ำมารดสวนผลไม้ ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัยและทดลองอยู่แล้ว จึงทำการวิจัยและทดลองนำน้ำเค็มมาผ่านกระบวนการในขั้นตอนต่างๆ จนสามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ อาทิ การนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการดึงน้ำเค็มและน้ำจืดออกจากกันจะสามารถนำไปใช้ในการรดน้ำต้นไม้ ล้างห้องน้ำ รวมถึงนำไปใช้ในภาคการเกษตรได้ และเมื่อผ่านกระบวนการในขั้นที่ 2 จะกลายเป็นน้ำที่สามารถนำมาดื่มได้ ซึ่งคุณภาพน้ำที่ออกมาเทียบเท่ากับน้ำดื่มยี่ห้อต่างๆตามท้องตลาดอีกด้วย #Workpointtv #ข่าวเวิร์คพอยท์ #กดหมายเลข23

โพสต์โดย Workpoint News – ข่าวเวิร์คพอยท์ บน 19 มกราคม 2017